Bibliometrics (บรรณมิติ บรรณมาตร) คือ ของ Bibliometrics

การศึกษาหรือวิธีการวัด (measure) สารสนเทศ หรือข้อความชุดหนึ่งๆ ตัวอย่างการศึกษาที่เป็นรู้จักมากที่สุด คือ การวิเคราะห์การอ้างอิง (Ciatation Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

การศึกษา Bibliometrics จัดอยู่ในสาขาวิชา บรรณารักษศาสตร์/สารสนเทศศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ในสาขาวิชาต่างๆ ได้มากมาย ในวงการวิจัยสาขาต่างๆ มีการใช้วิธีการ Bibliometrics เพื่อค้นหาผลกระทบ (impact) ในทุกระดับ คือ ระดับบทความ (paper) ระดับสาขาวิชา (field) ระดับนักวิจัย (researcher) ระดับสถาบัน ( Institutes / Affiliations) ระดับประเทศ (Country)

วิธีการของ Bibliometrics มีการนำไปใช้เพื่อตรวจสอบถึงความสัมพันธ์ระหว่างการอ้างอิงของวารสารวิชาการ ข้อมูล การอ้างอิงถือว่ามีความสำคัญ ดัชนีการอ้างอิงที่ผลิตโดยบริษัท ISI web of Science ผู้สืบค้นสามารถค้นบทความที่อ้างอิงกันไปมาได้ ดัชนีการอ้างอิงสามารถสื่อถึงความเป็นที่นิยมและมีผลกระทบต่อบทความหนึ่งๆ/ผู้แต่ง/วารสาร ซึ่งช่วยในการบริหารจัดการให้แก่ บรรณารักษ์ สำนักพิมพ์ทราบถึงผลการประเมินสิ่งพิมพ์วิชาการต่างๆ

การวิเคราะห์การอ้างอิงไม่ใช่เรื่องใหม่ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายทำให้เกิดการประมวลข้อมูล การอ้างอิงไปได้อย่างดีสามารถใช้ประโยชน์ในวงกว้าง การจัดการผลลัพธ์ของการสืบค้นโดย Search Engine ยักษ์ใหญ่ Google ที่ชื่อ PageRank ก็ใช้หลักการเบื้องต้นของการวิเคราะห์การอ้างอิงการประยุกต์วิธีการศึกษา Bibliometrics รวมถึง : การจัดสร้างศัพท์สัมพันธ์ (Thesaurus ) การวัดความถี่ของคำ (Term frequency) การตรวจสอบหลักไวยากรณ์ และ โครงสร้างของข้อมูล